วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดบุปผาราม ตราด


วัดบุปผาราม
  วัดบุปผาราม         
        วัดบุปผาราม หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดปลายคลอง  เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตราด สร้างขึ้นในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง  (พ.ศ. 2191) ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 และบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมาเรื่อย ๆ ปัจจุบันลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สิ่งที่น่าสนใจทางศิลปะวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของวัดบุปผาราม แบ่งได้เป็นสามส่วน
ส่วนที่ 1  ศาสนสถานในเขตพุทธาวาส ถูกล้อมรอบด้วยกำแพงหินศิลาแลง ประกอบด้วย
- พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน ผนังด้านนอกสีขาว บานประตูหน้าต่างเป็นไม้ ด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังศิลปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลายพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ลายดอกพุดตาน เพดานเป็นรูปดาว มีลายกลีบบัวซ้อยอยู่ภายใน
-   วิหารพระพุทธไสยาสน์ เป็นอาคารชั้นเดียว ภายในประดิษฐานพระปางไสยาสน์ จิตรกรรมฝาผนังเน้นลายดอกไม้ และสัตว์ต่าง ๆ
-  วิหารฝากระดาน เดิมเคยเป็นพระอุโบสถมาก่อน เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ที่มีอายุเก่าแก่ ฐานก่ออิฐถือปูนลักษณะโค้งเป็นรูปเรือสำเภา ฝาผนังเป็นไม้กระดานทั้งหมด
มณฑปสามหลัง ด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน
ส่วนที่ 2  ศาสนสถานในเขตสังฆาวาส อยู่ส่วนกลางของวัด ประกอบด้วย
หอสวดมนต์ เป็นศาลาไม้ยกพื้น หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ หน้าบันสองด้านเป็นไม้จำหลักปิดทองลายเทพพนมตรงกลาง ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำวัตรสวดมนต์ของพระภิกษุ และเป็นสถานที่ทำบุญตักบาตรในวันพระ
-   หอระฆัง สร้างขึ้นใหม่ด้วยคอนกรีต ตัวหอระฆังเป็นทรงจตุรมุข
โรงธรรม อยู่หน้าหอสวดมนต์ เป็นศาลาเปิดโล่งไม่มีฝาผนัง ใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศลและฟังธรรม
-   กุฏิทรงไทย เป็นเครื่องไม้ทั้งหลัง ตั้งเรียงรายภายใต้เงาไม้สำหรับพระภิกษุใช้บำเพ็ญธรรมและนั่งกรรมฐาน
ส่วนที่ 3  พิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม
-  ภายในพิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาต้อนปลาย ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นหลายองค์ และเครื่องถ้วยลายครามสมัยราชวงศ์ชิง ราชวงศ์หมิง รวมถึงเครื่องลายครามโบราณของทางยุโรป
พิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา  08:00 น. 17: 00 น. แต่ช่วงที่ไม่มีนักท่องเที่ยวจะปิด ถ้าต้องการเข้าชมต้องติดต่อเจ้าอาวาส หรือผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์จะอยู่ภายในวัด
การเดินทาง
 จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ตรงข้ามโรงพยาบาลตราด เลี้ยวแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น