วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง



          หมู่เกาะช้างเป็นอุทยานแห่งชาติที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยมากกว่า 40 เกาะ ทั้งยังมีเกาะที่เป็นโขดหินกลางทะเลอีกจำนวนมาก โดยมีเกาะช้างเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงของจังหวัดตราด มีพื้นที่406250.00 ไร่ ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำเภอเกาะช้างและกิ่งอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เกาะหลายแห่งมีทิวทัศน์สวยงาม หาดทรายขาว และน้ำทะเลใสสะอาด เช่น เกาะง่าม บางแห่งมีปะการังใต้น้ำที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เช่น เกาะหวาย และหมู่เกาะรัง
        ในปี พ.ศ. 2510 จังหวัดตราดได้ให้ นายสมศักดิ์ เผื่อนด้วง ไปทำการสำรวจบริเวณน้ำตกธารมะยม และได้ส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นของน้ำตกธารมะยม ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะช้าง อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ให้กรมป่าไม้พิจารณาจัดตั้งเป็นวนอุทยาน ซึ่งในปี 2516 กรมป่าไม้ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้ง " วนอุทยานน้ำตกธารมะยม " และกรมป่าไม้ได้มีหนังสือให้จังหวัดตราดรับงานจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกธารมะยมไปดำเนินการในปี 2517 ซึ่งในปี 2518 จังหวัดตราดได้ให้ นายทนง โหตรภวานนท์ พนักงานป่าไม้ตรี ไปดำเนินการจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกธารมะยม
           ต่อมาคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2524 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2524 ให้ดำเนินการจัดบริเวณเกาะช้างและเกาะกูด จังหวัดตราด เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลอีกแห่งหนึ่ง กรมป่าไม้จึงมีคำสั่งให้นายเรืองศิลป์ ประกรศรี นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจหาข้อมูลรายละเอียด ทั้งดำเนินการปรับปรุงวนอุทยานน้ำตกธารมะยม เพื่อยกฐานะเป็นอุทยานแห่งชาติต่อไป จากรายงานข้อมูลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานน้ำตกธารมะยมพบว่า เกาะช้างและเกาะบริวารสภาพทั่วไปมีทิวทัศน์สวยงาม มีน้ำตก และสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ ตลอดจนในอดีตน่านน้ำบริเวณทิศตะวันออกของเกาะช้างได้เกิดเหตุการณ์ขึ้นในสมัยอินโดจีน กล่าวคือ เรือรบหลวงสงขลา เรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงธนบุรีได้ทำการยุทธนาวีกับเรือรบฝรั่งเศสจำนวน 7 ลำ อย่างห้าวหาญ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2484 วีรกรรมครั้งนี้ได้รับการจารึก ไว้ในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือ
         เพื่ออนุรักษ์น่านน้ำประวัติศาสตร์และสภาพธรรมชาติของหมู่เกาะในทะเล กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุม ครั้งที่ 1/2525 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2525 เห็นควรจัดตั้งหมู่เกาะช้างเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินเกาะช้างและเกาะใกล้เคียงในท้องที่ตำบลเกาะช้าง และตำบลเกาะหมาก อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ครอบคลุมพื้นที่ 406,250 ไร่ หรือ 650 ตารางกิโลเมตร โดยเป็นพื้นน้ำประมาณ 458 ตารางกิโลเมตร หรือ 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ เป็นอุทยายแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เเล่ม 99 ตอนที่ 197 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2525 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 45 ของประเทศไทย 
หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.1 (ธารมะยม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.2 (คลองสน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.3 (สลักเพชร)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.4 (คลองพลู)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.5 (เกาะรัง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กช.6 (บางเบ้า)
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
ลักษณะภูมิประเทศ
           ในจำนวนกว่า 40 เกาะ ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีเกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่ ที่สุดห่างจากแหลมงอบประมาณ 8 กิโลเมตร พื้นที่ทอดยาวจากเหนือลงมาทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 30 กิโลเมตร กว้างประมาณ 14 กิโลเมตร เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ตและเกาะสมุย แต่พื้นที่อุทยานแห่งชาติไม่ได้ครอบคลุมเกาะช้างทั้งหมด มีบางส่วนที่เป็นส่วนของกิ่งอำเภอเกาะช้าง มีราษฎรอาศัยอยู่ ส่วนในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ส่วนที่เป็นพื้นดินส่วนใหญ่ของเกาะช้างมีลักษณะภูมิประเทศเป็น ภูเขาเกือบตลอดทั้งเกาะ เช่น เขาล้าน เขาจอมปราสาท เขาคลองมะยม เขาสลักเพชร ยอดเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูง ที่สุดมีความสูง 743 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
     โครงสร้างทางธรณีส่วนใหญ่ในพื้นที่เป็นหินอัคนีในยุคไทรแอสซิกมีช่วงอายุ 195-230 ล้านปีมาแล้ว มีที่ราบตามชายฝั่งทะเลในบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร หมู่บ้านสลักคอก หมู่บ้านคลองสน และอ่าวคลอง พร้าว แม่น้ำลำธารในเกาะช้างเป็นคลองสายสั้นๆ ที่น้ำทะเลเข้าถึง ต้นคลองเป็นห้วยน้ำจืดไหลมาจากน้ำตก ซึ่งเป็นสภาพหุบเขาหลังอ่าวต่างๆ ไหลแทรกไปตามบริเวณป่าชายเลนแล้วไหลลงสู่ทะเลรอบๆ คลองที่สำคัญได้แก่ คลองสน คลองมะยม คลองค้างคาว คลองบางเบ้า คลองพร้าว คลองนนทรี เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้ยังก่อให้เกิดน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกธารมะยม น้ำตกคลองพลู น้ำตกคลองนนทรี น้ำตกคีรีเพชร และน้ำตกคลองหนึ่ง นอกจากนี้ชายฝั่งตะวันออกของเกาะ จะมีหาดโคลนและหินเป็นหาดหน้าแคบ ส่วนหาดทางด้านตะวันตก จะเป็นหาดทรายและหิน
ลักษณะภูมิอากาศ
           ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ได้รับอิทธิพลจาก มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีประมาณ 4,700 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ในระยะนี้มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลงอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคมถึงเดือนเมษายน ในระยะนี้ดวงอาทิตย์กำลังเคลื่อนผ่านเส้นศูนย์สูตรไปทางซีกโลกเหนือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังอ่อนค่อนข้างจะแปรปรวน มีฝนตกน้อยทำให้อากาศร้อนอบอ้าว โดยเฉพาะในเดือนเมษายน มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส
พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
            อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีความหลากหลายของพืชพรรณมาก ส่วนใหญ่เป็น ป่าดงดิบชื้น เป็นป่าที่ค่อนข้างห่างจากชายฝั่ง พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นไม้สกุลพลอง สารภีป่า และไม้ในสกุลหว้า ขึ้นปนอยู่ประปราย พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ยางนา กระบาก ตะเคียนทอง ทะโล้ พญาไม้ เปล้า หลาวชะโอน เต่าร้าง หวาย เตยย่าน กล้วยไม้ ไผ่ เร่ว กระวาน ฯลฯ มีที่ราบตามชายฝั่งทะเลในบริเวณหมู่บ้านสลักเพชร หมู่บ้านสลักคอก หมู่บ้านคลองสน และอ่าวคลองพร้าว พืชพรรณธรรมชาติที่พบเป็น ป่าชายหาด ลักษณะเป็นป่าโปร่งมีพรรณไม้ขึ้นอยู่ไม่กี่ชนิด เช่น หูกวาง สารภีทะเล เมา เสม็ด เตยทะเล เป็นต้น ตามชายฝั่งที่เป็นดินเลนบริเวณอ่าวและปากคลองลำธารต่างๆ จะพบ ป่าชายเลน พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก โปรงขาว แสม พังกาหัวสุม ถั่วดำ แสม ตะบูน ปอทะเล และตีนเป็ดทะเล และ ป่าพรุ เป็นสังคมพืชที่เกิดขึ้นบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปี บริเวณอ่าวสลักคอกและอ่าวสลักเพชร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เหงือกปลาหมอ และกก เป็นต้น 
           หมู่เกาะช้าง ไม่มีการทับถมของตะกอนโคลนเลนจากแม่น้ำ จึงทำให้หมู่เกาะเหล่านี้มีหาดทรายที่ ขาวสะอาด น้ำทะเลใสสวย และอุดมสมบูรณ์ด้วยสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง เช่น ปะการังก้อน ปะการังเขากวาง ปะการังพุ่ม ปะการังแผ่น หอยมือเสือ ดอกไม้ทะเล ปลาสวยงามในแนวปะการัง กัลปังหา สาหร่าย พบได้ในบริเวณเกาะช้างน้อย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะช้าง เกาะหยวก เกาะมันนอก เกาะคลุ้ม เกาะหวาย เกาะเหลายา เกาะง่าม เกาะรัง เกาะกระ และบริเวณเรือรบหลวงชลบุรี และเรือรบหลวงสงขลาที่จมอยู่ใกล้บริเวณอ่าวสลักเพชร
จากการสำรวจประชากรสัตว์ป่า เมื่อปี 2535 พบว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้างมี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 29 ชนิด ได้แก่ หมูป่า เก้ง ลิงเสน ค่างหงอก ชะมะเช็ด พังพอนธรรมดา ค้างคาว กระรอก และหนู เป็นต้น มี นก ทั้งหมด 74 ชนิด เป็นนกที่มีถิ่นถาวรในประเทศไทยและไม่อพยพย้ายถิ่น 61 ชนิด ได้แก่ นกยางทะเล นกปรอดหน้านวล นกตบยุง นกนางแอ่นแปซิฟิก นกกวัก และนกแก๊ก เป็นต้น เป็นนกอพยพเข้ามาในประเทศไทยในช่วงฤดูหนาว 8 ชนิดได้แก่ นกยางเขียว นกหัวโตทรายใหญ่ นกนางนวลแกลบดำปีกขาว นกน็อตตี้ นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกกระจี๊ดขาสีเนื้อ นกกระจี๊ดขั้วโลกเหนือ และนกนางแอ่นบ้าน เป็นนกอพยพเพื่อผสมพันธุ์ 2 ชนิด คือ นกแต้วแล้วอกเขียว และนกแต้วแล้วธรรมดา ส่วนนกอพยพผ่านในฤดูกาลอื่นๆ 3 ชนิด คือ นกจับแมลงสีฟ้าท้องขาว นกจับแมลงคอสีน้ำเงินเข้ม และนกกระจี๊ดหัวมงกุฎ นอกจากนี้ยังมี สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลาน 42 ชนิด ได้แก่ ตะพาบน้ำ ตะกวด เหี้ย งูเหลือม งูสิง งูจงอาง และกบเกาะช้าง (เป็นสัตว์ประจำถิ่นใน ป่าดงดิบชื้นบริเวณเกาะช้างและเกาะใกล้เคียง)

การเดินทาง
รถยนต์
ใช้เส้นทางถนนสายบางนา-ตราด (ทางหลวงหมายเลข 3) ระยะทางประมาณ 312 กิโลเมตร ถึงตัวเมือง จังหวัดตราด แล้วเดินทางต่อไปที่ท่าเรือแหลมงอบ ระยะทางประมาณ 17 กิโลเมตร เพื่อเดินทางต่อโดยเรือที่ท่าเรือเฟอร์รี่ ซึ่งมีให้บริการอยู่หลายท่าด้วยกัน เช่น ท่าเรือเซ็นเตอร์พ้อยต์และท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ ไปขึ้นที่ท่าเรือธารมะยม ท่าเรือด่านเก่าหรือท่าเรืออ่าวสับปะรด ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที เรือโดยสารจะมีออกจากท่าทุกชั่วโมง จากนั้นเดินทางต่อไปยังจุดหมายที่ต้องการ

แผนที่เส้นทาง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยมากกว่า 40 เกาะ ทั้งยังมีเกาะที่เป็นโขดหินกลางทะเลอีกจำนวนมาก โดยมีเกาะช้างเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงของจังหวัดตราด ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเกาะช้างและอำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เกาะหลายแห่งมีทิวทัศน์สวยงาม หาดทรายขาว และน้ำทะเลใสสะอาด เช่น เกาะง่าม บางแห่งมีปะการังใต้น้ำที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เช่น เกาะหวาย และหมู่เกาะรัง
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง เป็นพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เมื่อปี พ.ศ. 2547

ที่ตั้งและแผนที่
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
23/7 หมู่ 3 ต.เกาะช้าง อ. กิ่งอำเภอเกาะช้าง จ. ตราด 23170
โทรศัพท์             0 3955 5080       โทรสาร             0 3955 5080   

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

           ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ใกล้วัดโยธานิมิต มีลักษณะแปลกจากศาลหลักเมืองอื่น ๆ คือ ตัวอาคารก่อสร้างในลักษณะเป็นเก๋งจีน ใช้สถาปัตยกรรมแบบจีน ประชาชนชาวจังหวัดตราดให้ความเคารพนับถือและนิยมมาสักการะบูชาสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามความเชื่อแบบจีนเพื่อให้ปกป้องคุ้มครองเมืองตราดให้รอดพ้นจากอันตราย ให้ชาวเมืองตราดอยู่เย็นเป็นสุข  เมื่อครั้งทรงรวบรวมไพร่พลเพื่อกอบกู้เอกราชที่เมืองตราด
               ศาลหลักเมืองเป็นดั่งศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี มีงานฉลองที่เรียกว่า วันงานพลีเมืองหรือที่ชาวจีนเรียกว่า วันเซี่ยกงแซยิดหมายถึง วันเกิดเจ้าพ่อหลักเมืองมีพิธีทำบุญตักบาตรแบบไทย และมีงานประจำปีศาลปุงเถ้าม้าแบบจีน ช่วงก่อน และหลังตรุษจีน 1 เดือน
ที่อยู่ : 
ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดตราด
การเดินทาง : ตั้งอยู่บนถนนหลักเมือง ใกล้วัดโยธานิมิตร
เวลาให้บริการ : 08:00-18:00
ค่าบริการ : ไม่เสียค่าเข้าชม
เบอร์โทรศัพท์ :             +66 (0) 3959 7255 begin_of_the_skype_highlighting            +66 (0) 3959 7255      end_of_the_skype_highlighting      , +66 (0) 3959 begin_of_the_skype_highlighting            +66 (0) 3959      end_of_the_skype_highlighting 7259 - 60
โทรสาร :             +66 (0) 3959

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดโยธานิมิต ตราด Wat Yotha Nimit Trad

                                                                 
วัดโยธานิมิต.
          วัดโยธานิมิต. หรือเรียกอีกชื่อว่า. วัดโบสถ์. ตั้งอยู่ที่ถนนเทศบาล 4 ตรงสามแยกใกล้กับศาลหลักเมือง. เป็นวัดอารามหลวง. เพียงแห่งเดียวในจังหวัดตราด. สร้างขึ้นเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสิน. ได้มารวบรวมไพร่พลที่เมืองตราด. เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2  และได้ใช้กำลังพลขนมูลดินไว้เพื่อสร้างวัด. ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3  ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังคุมทัพเรือมาทำสงครามกับเขมร  และระหว่างที่พักกองทัพอยู่นั้น.  ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นขนานนามว่า. วัดโยธานิมิต.  เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจระลึกถึงการที่เคยได้ร่วมรบ. ร่วมกิน. ร่วมนอนมาด้วยกัน.
          วัดโยธานิมิต. เป็นสถานที่. ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของบรรดาข้าราชการ. ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช.  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้เปลี่ยนมาทำพิธีที่วัดไผ่ล้อม. ในส่วนของพระอุโบสถเป็นศิลปะแบบอยุธยา. มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง. เล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก. ปัจจุบันกลายเป็นพระวิหาร. เรียกว่า วิหารโยธานิมิต. และเป็นที่เก็บโบราณวัตถุ. อาทิ หนังสือใบลาน. คัมภีร์เทศน์. และรอยพระพุทธบาท.
     ภายในวัดโยธานิมิต. ยังมีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชซึ่งเป็นทองสำริด. ตกแต่งลงสีทั้งองค์. สร้างที่วัดราชผาติการาม. กรุงเทพฯ จำนวน 3 องค์. ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี 1 องค์. นครสวรรค์ 1 องค์. และอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดโยธานิมิต. จังหวัดตราด 1 องค์. รัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี. เป็นวันคล้ายวันปราบดาพิเษกขึ้นคลองราชสมบัติ. ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. จังหวัดตราดจึงได้. จัดงานพิธีถวายราชสักการะ. เพื่อถวายความจงรักภักดี. และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. ในวันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ตั้งแต่เวลา 08:00 – 09:00 น. ณ บริเวณศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชา.
ตั้งอยู่ที่                                                                                         
หมู่ 1  ถ.เทศบาล 4  ต.วังกระแจะ  อ.เมือง  จ.ตราด 23000
การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางได้ 3 สาย คือ
1. บางนา-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข 3) ผ่านชลบุรี-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางประมาณ 385 กิโลเมตร
2. บางนา-ชลบุรี-แกลง-จันทบุรี-ตราด (เส้นทางหลวงหมายเลข 344) ระยะทางประมาณ 318 กิโลเมตร
3. ทางหลวงพิเศษ (motor way) เริ่ม กิโลเมตรที่ 0 ที่แยกถนนศรีนครินทร์ตัดถนนรามคำแหง และมาออกที่เส้นทางบ้านบึง-แกลง-จันทบุรี-ตราด
รถตู้ปรับอากาศ
- ตราด (แหลมงอบ)-บ้านเพ-พัทยา มีรถตู้ปรับอากาศบริการจากอำเภอแหลมงอบ ตรงข้ามสำนักงาน ททท.ภาคกลาง เขต 5 (ตราด) ทุกวัน รถออกเวลาประมาณ 13.00 น.โทร. 039-597198 พัทยา-บ้านเพ-แหลมงอบ (ตราด) เวลาออกจากพัทยา 08:00 น.(พัทยา) โทร. 038-71 0145

- กรุงเทพ-แหลมงอบ (ตราด) รถออกจากถนนข้าวสาร 08.00 น. แหลมงอบ-ถนนข้าวสาร รถออกจากแหลมงอบ เวลา 11.00 น.
-จันทบุรี-ตราด ออกจากบริเวณวงเวียนน้ำพุจันทบุรี และออกจากตราดบริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองตราดตั้งแต่แวลา 06.00-17.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.20 ชั่วโมง อัตราค่าโดยสารคนละ 60 บาท (5-6 คน ต่อ คัน)
รถโดยสารประจำทาง
มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท
รถโดยสารปรับอากาศ มีรถปรับอากาศ ชั้น 1 (ปอ.1) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง
บริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท สหมิตร-เชิดชัย โทร. 0 2391 2237, 0 2391 4164 สาขาตราด โทร. 0 3951 1062, โชคอนุกูล ทัวร์ โทร. 02-392 7680 สาขาตราด โทร. 039-51 1587, 039-51 1481 และ ศุภรัตน์ ทัวร์ บริการรถ V.I.P. โทร. 02-391 2331 สาขาตราด โทร.039-51 1481

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2555

วัดบุปผาราม ตราด


วัดบุปผาราม
  วัดบุปผาราม         
        วัดบุปผาราม หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดปลายคลอง  เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดตราด สร้างขึ้นในสมัยราชอาณาจักรอยุธยา ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง  (พ.ศ. 2191) ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 และบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมาเรื่อย ๆ ปัจจุบันลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นศิลปะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สิ่งที่น่าสนใจทางศิลปะวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของวัดบุปผาราม แบ่งได้เป็นสามส่วน
ส่วนที่ 1  ศาสนสถานในเขตพุทธาวาส ถูกล้อมรอบด้วยกำแพงหินศิลาแลง ประกอบด้วย
- พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูน ผนังด้านนอกสีขาว บานประตูหน้าต่างเป็นไม้ ด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังศิลปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ลายพระพุทธเจ้าปางแสดงธรรม ลายดอกพุดตาน เพดานเป็นรูปดาว มีลายกลีบบัวซ้อยอยู่ภายใน
-   วิหารพระพุทธไสยาสน์ เป็นอาคารชั้นเดียว ภายในประดิษฐานพระปางไสยาสน์ จิตรกรรมฝาผนังเน้นลายดอกไม้ และสัตว์ต่าง ๆ
-  วิหารฝากระดาน เดิมเคยเป็นพระอุโบสถมาก่อน เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ที่มีอายุเก่าแก่ ฐานก่ออิฐถือปูนลักษณะโค้งเป็นรูปเรือสำเภา ฝาผนังเป็นไม้กระดานทั้งหมด
มณฑปสามหลัง ด้านในมีจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับอิทธิพลมาจากจีน
ส่วนที่ 2  ศาสนสถานในเขตสังฆาวาส อยู่ส่วนกลางของวัด ประกอบด้วย
หอสวดมนต์ เป็นศาลาไม้ยกพื้น หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ หน้าบันสองด้านเป็นไม้จำหลักปิดทองลายเทพพนมตรงกลาง ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำวัตรสวดมนต์ของพระภิกษุ และเป็นสถานที่ทำบุญตักบาตรในวันพระ
-   หอระฆัง สร้างขึ้นใหม่ด้วยคอนกรีต ตัวหอระฆังเป็นทรงจตุรมุข
โรงธรรม อยู่หน้าหอสวดมนต์ เป็นศาลาเปิดโล่งไม่มีฝาผนัง ใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศลและฟังธรรม
-   กุฏิทรงไทย เป็นเครื่องไม้ทั้งหลัง ตั้งเรียงรายภายใต้เงาไม้สำหรับพระภิกษุใช้บำเพ็ญธรรมและนั่งกรรมฐาน
ส่วนที่ 3  พิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม
-  ภายในพิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม เป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาต้อนปลาย ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นหลายองค์ และเครื่องถ้วยลายครามสมัยราชวงศ์ชิง ราชวงศ์หมิง รวมถึงเครื่องลายครามโบราณของทางยุโรป
พิพิธภัณฑ์วัดบุปผาราม เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา  08:00 น. 17: 00 น. แต่ช่วงที่ไม่มีนักท่องเที่ยวจะปิด ถ้าต้องการเข้าชมต้องติดต่อเจ้าอาวาส หรือผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์จะอยู่ภายในวัด
การเดินทาง
 จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ตรงข้ามโรงพยาบาลตราด เลี้ยวแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

แหล่งท่องเที่ยวตราด Tourist attraction Trat.




จังหวัดตราด
             จังหวัดตราด จังหวัดเล็กๆที่มีอาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัด จันทบุรีและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวไทย และ น่านน้ำทะเลประเทศกัมพูชา  ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชา มีทิวเขาบรรทัดเป็นแนวกั้นเขตแดน และทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี   มีปรากฏในประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยาในฐานะเมืองท่าทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทางทะเล เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราด เป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหารก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรี  จนถึงช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ตราดก็ยังเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการทำสงครามกับญวน มาถึงยุคล่าอาณานิคมตราดก็เป็นพื้นที่ ที่มีบทบาทในความขัดแย้งระหว่างไทยกับฝรั่งเศษ และที่สุดของประวัติศาสตร์ ท้องทะเลจังหวัดตราดแห่งนี้คือสถานที่ที่ทหารเรือไทย ได้แสดงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ ในยุทธนาวีที่เกาะช้างทำการรบอย่างห้าวหาญ กับกองเรือรบฝรั่งเศษที่แข็งแกร่งกว่าหลายเท่า อย่างไม่เสียดายชีวิตจารึกเป็นเกียรติประวัติให้ชนรุ่นหลังได้จดจำ ไม่รู้ลืม

         ปัจจุบันจังหวัดตราด มีชื่อเสียงอย่างมากทั้งในด้านการค้าชายแดน และด้านการท่องเที่ยว เกาะช้าง เกาะกูด เป็นจุดหมายสำคัญของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ การเดินทางที่สะดวก ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก ประกอบกับมีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย สิ่งอำนวยความสะดวกมีพร้อมทุกอย่าง และในอนาคตไม่ไกลจังหวัดตราดจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ที่จะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่จะมาเที่ยวในภูมิภาคนี้

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตราด

อำเภอเมือง                                             

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
วัดไผ่ล้อม
โบราณสถานจวนเรสิดังกัมปอร์ต
แหลมศอก
วัดคีรีวิหาร
หาดลานทราย
อำเภอคลองใหญ่
หาดทรายงาม
หาดทรายเงิน
หาดมุกแก้ว
ศูนย์ราชการุณย์ สภากาชาดไทย เขาล้าน
หาดไม้รูด
หาดบานชื่น
ตลาดชายแดนบ้านหาดเล็ก